วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2555


นวัตกรรมการเรียนรู้.....สารพัดวิธีสอน
   
        การเรียนรู้ภายใต้กระบวนการฝึกทักษะจะสร้างมุมมองที่เป็นองค์รวม (holistic view) คือมองเห็นงาน เห็นปัญหา เห็นชีวิต ว่าเป็นสิ่งเดียวกัน มองว่าปัญหาเป็นส่วนหนึ่งของงาน และมองเห็นงานเป็นกระบวนการที่สำคัญของชีวิต  การศึกษาในปัจจุบันไม่ได้จำกัดแต่ในห้องเรียนแล้วเท่านั้น หากแต่สามารถจัดการศึกษาได้โดยทั่วไป  ไม่ว่าจะเป็นในห้องเรียนหรือนอกห้องเรียน  ทุกสถานที่ หรือทุกเวลาที่ทำให้ผู้เรียนมีโอกาสเรียนรู้ได้ตลอดเวลาและตลอดชีวิต

        “นวัตกรรม มีความเกี่ยวข้องกับการศึกษาที่จะเพิ่มประสิทธิภาพหรือคุณภาพการเรียนการสอนได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งนวัตกรรม ตรงกับคำว่า “innovation” ในภาษาอังกฤษมีรากศัพท์มาจากคำภาษาลาตินว่า innovare ซึ่งแปลว่า “to renew” หรือ ทำขึ้นมาใหม่” หมายถึง การทำอะไรใหม่ๆ แนวคิดใหม่ๆ วิธีการใหม่ๆ มาปรับปรุง เพิ่มประสิทธิภาพของงานหรือของสิ่งที่ได้กระทำให้ดียิ่งขึ้น คนทั่วไปมักจะเข้าใจผิดคิดว่านวัตกรรมเป็นคำที่เกี่ยวข้องเฉพาะสิ่งใหม่ๆที่เกิดขึ้นแต่วงการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  สมเด็จพระเทรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงอธิบายไว้ในการแสดงปาฐกถาเรื่อง “เทคโนโลยี นวัตกรรม กับการพัฒนาประเทศ” ในการประชุมประจำปีของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เมื่อวันที่ 30มีนาคม 2542 มีใจความตอนหนึ่งว่า

                    “... คนเรานั้นจะต้องมี นวัตกรรม คือต้อง innovative หรือต้องรู้จักสร้างสรรค์ ต้องมีความพร้อมที่จะก้าวไปข้างหน้า ปรับตัวให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงของโลก แต่ว่าก็ต้องสามารถปรับโลกให้เหมาะสมสอดคล้องกับความเป็นอยู่หรือความพอใจความสุขสบายของตัวเองเหมือนกัน ต้องแก้ปัญหาด้วยความคิด พอทางหนึ่งตันก็ต้องหาทางใหม่ ไม่งอมืองอเท้ายิ่งใน ภาวะวิกฤต ยิ่งต้องการนวัตกรรม ซึ่งไม่เฉพาะแต่นวัตกรรมทางเทคโนโลยีเท่านั้น หากแต่เป็นนวัตกรรมของทั้งระบบโดยรวม ตั้งแต่สังคม เศรษฐกิจ และวิถีชีวิตหรือวัฒนธรรม...
(การสัมมนาวิชาการเรื่อง “นวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข” วันพุธที่ 28 เมษายน 2547 ณ โรงแรม หลุยส์ แทเวิร์น กรุงเทพฯ)

        เมื่อหลากหลายสถานบันหรือบุคลากรทางการศึกษาได้นำเอานวัตกรรมเข้ามาผนวกกับการศึกษาช่วยในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน ที่เรียกว่า "นวัตกรรมการศึกษา"  ให้เข้ามามีบทบาทในการเรียนการสอน  ซึ่งเป็นการนำเอาแนวคิด วิธีการการเกี่ยวข้องกับการศึกษา เพื่อพัฒนา ปรับปรุง มาเพิ่มประสิทธิภาพให้การศึกษา ให้มีระบบที่ดียิ่งขึ้น มีคุณภาพ ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิภาพ หรือประสิทธิผลสูงขึ้น อันได้แก่  สิ่งที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาที่คิดขึ้นมาใหม่ทั้งหมด  สิ่งที่คิดเพิ่มเติมจากเดิม หรือสิ่งที่เคยนำมาใช้แล้วและปรับปรุงให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น การนำวิธีการใหม่ๆ ที่ดีกว่ามาปรับปรุงแก้ไขวิธีการเดิมๆ  การคิดค้นระบบหรือการจัดการวิธีการ การวิจัยหรืออื่นๆ แล้วนำมาเผยแพร่กว้างขวางยิ่งขึ้น เช่น คอมพิวเตอร์มัลติมิเดีย คอมพิวเตอร์ช่วยสอน บทเรียนแบบโปรแกรม ชุดการสอน เป็นต้น
              ทั้งนี้ การจัดการเรียนการสอนที่ดีนั้น นอกจากจะมีนวัตกรรมการสอนที่ดีทันสมัย มาใช้กับผู้เรียนให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด นอกเหนือจากนวัตกรรมมาที่เป็นอุปกรณ์ช่วยสอนหรือวิธีการสอนเท่าแล้วนั้น ยังต้องมีสิ่งสำคัญเกี่ยวข้องกับนวัตกรรมการเรียนการสอน ประกอบด้วย ครูผู้สอน หลักสูตรหรือเนื้อหา ผู้เรียน สื่อ/อุปกรณ์ และทักษะกระบวนการต่างๆ ทั้งหมดล้วนก่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ต่อผู้เรียนได้ตลอดเวลา และตลอดชีวิต

นวัตกรรมการศึกษา
 นวัตกรรมมีความสำคัญต่อการศึกษาหลายประการ ได้แก่
1. เพื่อให้ทันสมัยต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป
2. เพื่อแก้ไขปัญหาทางด้านการศึกษาบางอย่างที่เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ
3. เพื่อแก้ไขปัญหาทางด้านการศึกษาในบางเรื่อง เช่น ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับจำนวนผู้เรียนที่มากขึ้น การพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัย การผลิตและพัฒนาสื่อใหม่ ๆ ขึ้นมา
4. เพื่อตอบสนองการเรียนรู้ของมนุษย์ให้เพิ่มมากขึ้นด้วยระยะเวลาที่สั้นลง
5. การใช้นวัตกรรมมาประยุกต์ในระบบการบริหารจัดการด้านการศึกษาก็มีส่วนช่วยให้การใช้ทรัพยากรการเรียนรู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
 สาเหตุการเกิดขึ้นของนวัตกรรมการศึกษา
1. การเพิ่มปริมาณของผู้เรียน
2. การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีเป็นไปอย่างรวดเร็ว
3. การเรียนรู้ของผู้เรียนมีแนวโน้มในการเรียนรู้ด้วยตนเองมากขึ้น
4. ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีโทรคมนาคม
ขอบข่ายนวัตกรรมทางการศึกษา
1. การจัดการเรื่องการสอนด้วยวิธีการใหม่ๆ
2. เทคนิควิธีการสอนแบบต่าง ๆ ที่ไม่เคยมีการทำมาก่อน
3. การพัฒนาสื่อใหม่ ๆ เข้ามาใช้ในกระบวนการเรียนการสอน
4. การใช้เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์มาปรับใช้ในระบบการเรียนการสอนในระบบทางไกลและการเรียนด้วยตัวเอง
5. วิธีการในการออกแบบหลักสูตรใหม่ๆ
6. การจัดการด้านการวัดผลแบบใหม่
ประเภทของนวัตกรรมการศึกษา
1. นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร เช่น หลักสูตรบูรณาการ หลักสูตรรายบุคคล หลักสูตรกิจกรรมและประสบการณ์ หลักสูตรท้องถิ่น
2. นวัตกรรมการเรียนการสอน เช่น การสอนแบบศูนย์การเรียน การใช้กระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ การสอนแบบเรียนรู้ร่วมกัน และการเรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต
3. นวัตกรรมสื่อการสอน เช่น CAI WBI WBT VC WebQuest Webblog
4. นวัตกรรมการประเมินผล เช่น การพัฒนาคลังข้อสอบ การลงทะเบียนผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และอินเตอร์เน็ต การใช้บัตรสมาร์ทการ์ด เพื่อการใช้บริการของสถาบันศึกษา การใช้คอมพิวเตอร์ในการตัดเกรด
5. นวัตกรรมการบริหารจัดการ เช่น ฐานข้อมูล นักเรียน นักศึกษา ฐานข้อมูล คณะอาจารย์ และบุคลากร ในสถานศึกษา ด้านการเงิน บัญชี พัสดุ และครุภัณฑ์